623 จำนวนผู้เข้าชม |
ฐานการปลูกพืชผัก
เมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์
ฐานการปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น
คิดเป็น 30 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด ตัวอย่างไม้ผลที่ควรปลูก ได้แก่ มะม่วง มะพร้าว ขนุน ส้ม กล้วย มะละกอ กระท้อน ลำไย ฝรั่ง น้อยหน่า ตลอดจนไม้ยืนต้นตามแนวพระราชดำรัส " ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง " คือ
1. เพื่อสร้างที่อยู่อาศัย ได้แก่ ตะเคียน สัก มะฮอกกานี กระถินเทพา แดง ประดู่ มะค่าโมง ยางนา
2. เพื่อเป็นอาหาร ได้แก่ ขี้เหล็ก สะเดา กระถิน มะกอก มะขาม
3. เพื่อใช้สอยอื่น ๆ เช่น ทำฟืน เครื่องจักสาน เครื่องเรือน เครื่องมือการเกษตร ทำคอกสัตว์
4. ตลอดจนช่วยสร้างความร่มรื่น รักษาสมดุลของระบบนิเวศ อย่างไรก็ตามการพิจารณาชนิดของต้นไม้ที่จะปลูก ควรคำนึงถึงความเหมาะสมในแต่ละสภาพท้องที่ นั้น ๆ
ฐานการผลิตปุ๋ยหมักและปุ๋ยน้ำชีวภาพ
สภาพที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการปลูกพืชอยู่เสมอ องค์ประกอบของดินที่ดี ควรประกอบไปด้วย อนินทรียวัตถุ 45% อินทรียวัตถุ 5% น้ำ 25% และอากาศ 25% โดยปริมาตร
การปรับปรุงดิน
บำรุงดินด้วยปุ๋ยหมัก เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน โครงสร้างดินดีขึ้น ระบายอากาศดีขึ้น ระบบรากพืชสามารถแผ่กระจายในดินอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้ดูดธาตุอาหารได้มากขึ้น ส่งเสริมให้ดินมีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตมากขึ้น อัตราการใช้ ในดินเหนียว 2-4 ตันต่อไร่ ดินทราย 4-6 ตัน ต่อไร่
การปรับปรุงดิน บำรุงดินด้วยปุ๋ยคอก
ช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดิน ระบายน้ำ ระบายอากาศดีขึ้น เพิ่มความคงทน แก่เม็ดดิน เป็นแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ในดิน อัตราที่แนะนำ ดินเหนียว ใช้ 1 ตันต่อไร่ ดินทรายใช้อัตรา 2 ตันต่อไร่
การปรับปรุงดิน บำรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด
คือ ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ได้จากการไถกลบพืช ขณะยังเขียวสดอยู่ลงในดิน มักนิยมไถกลบช่วงที่พืชกำลังติดดอก เพราะมีปริมาณธาตุไนโตรเจนสูง ให้น้ำหนักอินทรียจากพืชสูงสุด แล้วปล่อยให้ย่อยสลายประมาณ 7-14 วัน จากนั้นจึงปลูกพืชหลักตาม ชนิดปุ๋ยพืชสดได้แก่ พืชตระกูลถั่วต่าง ๆ เพราะโตเร็ว อายุสั้น ย่อยสลายง่าย ทนต่อสภาพการแปรปรวนได้ดี เช่น ปอเทือง ถั่วพร้า โสนอัฟริกัน ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ
การปรับปรุงดิน บำรุงดินด้วยปุ๋ยชีวภาพ
คือ ปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยมีคุณสมบัติพิเศษสามารถสังเคราะห์สารประกอบธาตุอาหารพืชได้เอง หรือเปลี่ยนรูปให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ เพราะจุลินทรีย์เหล่านี้ช่วยตรึงไนโตรเจน ช่วยผลิตฮอร์โมน กระตุ้นการเจริญเติบโต ควบคุมโรคในดิน กระตุ้นให้พืชสร้างภูมิคุ้มกันโรค
การใช้ประโยชน์หญ้าแฝกบำรุงดิน
หญ้าแฝกนอกจากช่วยในการอนุรักษ์ดินและน้ำแล้ว ยังมีบทบาทในการปรับปรุง บำรุงดินทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะใบ และรากหญ้าแฝก เมื่อย่อยสลายสามารถปล่อยธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองแก่ดิน รากหญ้าแฝกช่วยให้ดินร่วนซุย เพราะหยั่งลึกลงดิน ยังพบจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์หลายชนิดที่บริเวณราก เมื่อรากหญ้าแฝกตายลง ทำให้เกิดช่องว่างสำหรับน้ำ และอากาศถ่ายเทได้สะดวกยิ่งขึ้น
ฐานเกษตรกรรมสมัยใหม่ (Modern Agriculture)
มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นมหาวิทยาลัยมีอัตลักษณ์ความเป็นนักปฏิบัติที่สะสมภูมิปัญญาความเชี่ยวชาญทางด้านการเกษตร ต่อยอดสู่เกษตรกรรมสมัยใหม่หรือเกษตรนวัตกรรม ด้วยการศึกษาและวิจัยตลอดจนถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยสู่เกษตรกรและฟาร์ม โดยมีศูนย์ความเป็นเลิศนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ (Modern Agriculture Innovation Center) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นหน่วยงานหลัก โดยองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีระบบเกษตรแบบแม่นยำ (precision agriculture Technology) และเทคโนโลยีการทำฟาร์มอัจฉริยะ (smart farming Technology) ตลอดจนระบบแอปพลิเคชันสนับสนุนการทำการเกษตรสมัยใหม่ (Decision Support System) โดยมุ่งเน้นพัฒนาและถ่ายทอดระบบการทำเกษตรสมัยใหม่ เกษตรอัจฉริยะให้สอดคล้องตามบริบทของเกษตรกรรมไทย โดยมีต้นทุนต่ำและเหมาะสมกับชุมชน เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนเกษตรกรและสร้างความมั่นคงทางอาชีพการเกษตรอย่างยั่งยืน