เทคนิคการจัดการหรือการดูแลสุกรขุน

763 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เทคนิคการจัดการหรือการดูแลสุกรขุน

การดูแลสุกรขุนระยะต่างๆ
1. การดูแลสุกรระยะเล็ก
- ควรเน้นเรื่องการให้ความอบอุ่นในระยะแรกๆ ที่สุกรยังตัวเล็ก และไม่ให้อยู่ที่อากาศเย็นหรือร้อนจนเกินไป (ให้อยู่ที่แห้งและอบอุ่น)
- บริเวณที่อยู่ต้องสะอาดและแห้ง ไม่เปียกชื้นเพราะจะทำให้สุกรป่วย
- ควรให้อาหารทีละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง ไม่ควรให้ทีละมาก เพราะจะทำให้สุกรท้องเสีย และอาหารที่เหลือที่สุกรกินไม่หมด ก็จะเสีย ทำให้เพิ่มต้นทุนค่าอาหารสูงขึ้น (อาหารที่ให้สุกรในช่วงนี้ควรมีโปรตีนอย่างน้อย 18 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป)
- การให้น้ำก็ควรให้พอเพียง ไม่ควรให้มากจนเกินไป จะทำให้คอกเปียกชื้น เป็นสาเหตุทำให้สุกรป่วยได้
- สุกรที่นำเข้ามาเลี้ยงควรมีการทำวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรคอหิวาห์สุกร โรคปากและเท้าเปื่อย โรคพิษสุนัขบ้าเทียม ไมโคพลาสม่า
- ควรสังเกตดูความผิดปกติของสุกร เช่น ซึม ไม่กินอาหาร ท้องเสีย
2. การดูแลสุกรระยะรุ่น
- ควรให้อาหารสุกรอย่างเต็มที่ เท่าที่สุกรจะกินได้ แต่ไม่ให้มากเกินไปจนเหลือ
- ควรมีน้ำสะอาดให้สุกรกินอย่างพอเพียง
- ควรมีการทำความสะอาดบริเวณพื้นคอก วันละ 2 ครั้ง เพื่อให้สุกรได้อยู่อย่างสบายและสะอาด
- ควรมีการสังเกตดูความผิดปกติของสุกรทุกตัว เช่น อาการเบื่ออาหาร ซึม หรือท้องเสีย หรืออาการบาดเจ็บ อื่นๆ ถ้าพบอาการผิดปกติก็ให้รีบรักษาตามอาการทันที ไม่ควรปล่อยให้สุกรป่วยมากก่อนที่จะรักษา เพราะจะทำให้สุกรชะงักการเจริญเติบโต หรือโตช้าไม่ทันตัวอื่นในครอก
3. การดูแลสุกรระยะขุนถึงขาย
- ควรให้อาหารสุกรอย่างเต็มที่ แต่ไม่ให้มากจนเหลือ
- ควรดูตัวของสุกรด้วยว่า อ้วนหรือผอมเกินไป ถ้าอ้วนก็ให้ลดปริมาณอาหารลง ถ้าผอมก็ได้เพิ่มปริมาณอาหารมากขึ้น (สุกรขุนถ้าอ้วนหรือผอมเกินไปเวลาขายจะได้ราคาต่ำ)
- ควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ ของสุกรที่เลี้ยง ถ้าพบว่าสุกรป่วยก็ให้รีบรักษาทันที อย่าปล่อยให้สุกรป่วยนาน เพราะจะต้องเสียเวลาในการเลี้ยงยาวนานกว่าปกติ

ข้อมูลโดย : นายไพศาล โพธินาม กองบริหารงานบริการวิชาการ สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้