341 จำนวนผู้เข้าชม |
ระยะไข่และหนอนที่เพิ่งฟัก
1. สำรวจแปลงข้าวโพดอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ข้าวโพดงอกจนถึงอายุ 40 วัน เพื่อเก็บกลุ่มไข่และหนอนที่เพิ่งฟักออกจากไข่ทำลายทิ้ง
2. แตนเบียนไข่ Trichogramma spp. หรือ แมลงหางหนีบ
ระยะหนอน
การใช้สารเคมี
1. สารสไปนีโทแรม (spinetoram) 12% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร (สารในกลุ่ม 5) หรือ
2. สารคลอแรนทรานิลิโพรล (chlorantraniliprole) 5.17%SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ สารฟลูเบนไดอะไมด์ (flubendiamide) 20%WG อัตรา 6 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ สารฟลูเบนไดอะไมด์ 20%WG 6 กรัม/20 ลิตร (สารในกลุ่ม 28)
3. สารคลอร์ฟินาเพอร์ (chlorfenapyr) 10%SC อัตรา 30 มิลลิกรัมต่อน้ำ 20 ลิตร (สารในกลุ่ม 13) หรือ
4. สารอินดอกซาคาร์บ (indoxacarb) 15%SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร (สารในกลุ่ม 22)
- พ่นสารฆ่าแมลงทุก 7 วัน ติดต่อกัน 2-4 ครั้ง และต้องสลับกลุ่มสารทุก 30 วัน (1 วงรอบชีวิต) เพื่อลดความต้านทานสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
- ควรพ่นสารฆ่าแมลงในช่วงเย็นซึ่งเป็นช่วงเวลาที่หนอนออกจากที่หลบซ่อน
- สำหรับข้าวโพดอายุ 30 วันขึ้นไป หนอนที่เริ่มโตเจาะเข้าไปอยู่ในยอด ให้พ่นสารฆ่าแมลงเข้าไปในกรวยใบ
การใช้ชีววิธี
1. ใช้เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัสทูริงเจนซิส (Bt) สายพันธุ์ไอซาไว หรือ สายพันธุ์เคอร์สตากี้ อัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7 วัน เมื่อพบการระบาด
2. ใช้แมลงตัวห้ำ เช่น มวพิมาต และมวนเพชฌฆาต
3. ใช้ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทยฉีดพ่น
ระยะดักแด้
1. ไถพลิกดินและไถพรวน เพื่อกำจัดดักแด้ที่อยู่ในดิน
ข้อมูลโดย : นายเสกสรร สงจันทึก กองบริหารงานบริการวิชาการ สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
เอกสารอ้างอิง : กลุ่มงานเฝ้าระวังศัตรูพืชกักกัน กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร